-
กะเหรี่ยงบ้านแม่หลอด เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายในเรื่องการนับถือศาสนา มีทั้งที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ตลอดจนผู้ไม่นับถือศาสนา แต่ศาสนาของชาวบ้านยังคงอยู่ภายใต้มโนทัศน์เดียวกัน คือ ชาวบ้านทุกคนมีความเชื่อเกี่ยวกับดวงวิญญาณและอำนาจที่ไร้ตัวตน อันเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงตั้งแต่ก่อนการเข้ามาของศาสนา
-
การขยายตัวของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลื้อขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการแยกตัวออกมาสร้างชุมชนใหม่ และการรักษาวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์
-
-
เลโคะ หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงโปว์เล็ก ๆ ที่ยังคงประกอบอาชีพดั้งเดิม คือ การจักสานและทอผ้า ซึ่งช่างหัตถกรรมที่นี่มีฝีมือดี ต่อมาจึงได้พัฒนาหมู่บ้านเป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของชุมชน นอกจากนี้ชาวบ้านยังปลูกกาแฟ ซึ่งเอกลักษณ์ของกาแฟบ้านเลโคะ คือ ต้นกาแฟปลูกในพื้นที่ที่ไม่สูงมากนักหากเทียบกับกาแฟของที่อื่น แต่เป็นต้นกาแฟที่ได้รับดิน น้ำ และอากาศที่อุดมสมบูรณ์ โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟธรรมชาติบ้านเลโคะ
-
ทางผ่านสำคัญของภูมิภาคที่เป็นจุดตัดในการเดินทางไปเมืองต่าง ๆ ของภาคเหนือ อีกทั้งในชุมชนยังมีพระธาตุ และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม
-
"พระธาตุคู่ดูสง่า น้ำตกแม่สุกงามตา สำเนียงภาษาบอกถิ่น หมู่บ้านแม่คู่แผ่นดิน ลิ้นจี่ดีมีมากมาย หลากหลายผลิตภัณฑ์"
-
-
-
ป่าดงดิบ ไม้เบญจพรรณ ทรัพยากรธรรมชาติของบ้านปางหมิ่นเหนือที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ ด้วยสัตว์น้อยใหญ่นานาชนิดและพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่หลากหลาย
-
ชุมชนที่พึ่งพิงธรรมชาติ ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้นานมากกว่า 250 ปี สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของบ้านเก๊าเดื่อเป็นชนเผ่า “ลัวะ”
-
พื้นที่ต้นแบบด้านการบริหารจัดการขยะระดับแถวหน้าของประเทศ โดยได้รับรางวัลชนะเลิศชุมชนปลอดขยะระดับประเทศ ประจำปี 2556 ประเภทชุมชนขนาดกลาง ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้รับถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
-
ชุมชนชนบทที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและเกษตรกรรม แหล่งรวมศรัทธา "ม่อนประทีป"