-
ชุมชนที่เคยอยู่ในพื้นที่บุกรุกและถูกไล่ถอนบ้านเรือนมาก่อน นำมาสู่การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ลำนุ่นพัฒนา เพื่อระดมเงินทุนจากชาวบ้านนำมาซื้อที่ดิน กระทั่งภายหลังชุมชนคลองลำนุ่นได้อยู่อาศัยในที่ดินที่ตนเองเป็นเจ้าของถูกต้องตามกฎหมาย
-
บ้านคลองฝรั่งเป็นชุมชนที่มีพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้นโดยมีแรงขับเคลื่อนจากผู้คนภายในชุมชน
-
-
ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นได้รับการประกาศเป็น “พื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมพิเศษ” โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการฟืนฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553ในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมี “ลำห้วยพุเม้ยง์” ซึ่งเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมายาวนานกว่า 400 ปี เป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค แหล่งน้ำในการทำการเกษตร และเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของชุมชนในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม มีจำนวน 5 ต้น ชื่อว่า “ต้นสมพงษ์” แต่ละต้นมีอายุกว่า 100 ปี เป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาทางจิตวิญญาณของคนที่อยู่กับป่า แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เมื่อเดือน เมษายน 2566 เกิดลมพายุพัดผ่านชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นอย่างรุนแรง ส่งผลให้ต้นสมพงษ์ขนาดใหญ่ทั้ง 5 ต้น ล้มทั้งยืน บางต้นล้มแบบหัก ขาดครึ่งกลางลำต้นลงมา จากนี้ไปคงเหลือเพียงชื่อที่เป็นตำนานเท่านั้นในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น เป็นแหล่งรวมอารยธรรมกะเหรี่ยงโปว์ทางด้านจิตวิญญาณและความเชื่อ ด้วยเหตุผลที่ว่า ในชุมชนแห่งนี้ในปัจจุบันมีเจ้าวัด (ผู้นำแห่งจิตวิญญาณ) ถึง 3 คน คือ เจ้าวัดผู้ชาย 2 คน ผู้นำจิตวิญญาณที่เป็นผู้หญิง (แม่ย่า) อีก 1 คน ในทุก ๆ ปี จะมีพิธีการไหว้เจดีย์ถึง 3 ครั้ง ได้แก่ การไหว้เจดีย์ในเดือน 3 เดือน 5 และเดือน 7 ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่และน่าเหลือเชื่อมาก เพราะชุมชนกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่มีเจ้าวัดกันแล้วชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นเห็นถึงความสำคัญของการทำไร่หมุนเวียน จึงพยายามรื้อฟื้นวิถีการทำไร่หมุนเวียนให้กลับคืนมาดังเช่นในอดีต แต่พื้นที่สำหรับการทำไร่หมุนเวียนนั้นอาจจะน้อยลง เพราะปัจจุบันทุกคนมีพื้นที่จำกัด และการพักฟื้นหน้าดินหลังจากการทำไร่หมุนเวียนก็คงจะไม่นานถึง 7 – 8 ปี ดังเช่นในอดีต อาจจะเป็นการหมุนเวียนระหว่างการปลูกข้าวไร่กับพืชชนิดอื่นแทนการทิ้งร้างของพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน
-
หน้าหมู่บ้านละหว้าใหม่คอกควายมีถนนทางหลวงชนบทที่ตัดผ่าน ซึ่งฝั่งที่อยู่ตรงกันข้ามกับหมู่บ้าน เป็นอ่างเก็บน้าขนาดใหญ่ชื่อ “อ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว” สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริโภค การเกษตร ประมงและการท่องเที่ยว มีความสวยงามและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในชุมชนหน้าหมู่บ้านมีศาลเจ้าเก่า ๆ ซึ่งบรรพบุรุษชาวละว้าได้สร้างไว้ ตามความเชื่อโบราณประเพณี เป็นที่เคารพสักการะและเป็นสถานที่ประกอบพิธีทำบุญกลางบ้านของชุมชนวัดแก้วศักดา เป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวละว้า คนในชุมชนไปทำบุญทุกวันธรรมสวนะ
-
ชุมชนชาติพันธุ์ ที่มีวิถีการทอผ้า ที่ทอขึ้นเอง เป็นผ้าทอของชนเผ่า ปกาเกอะญอ ทอด้วยเครื่องมือที่ทำจากธรรมชาติ ทำขึ้นเองและสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษและเป็นเอกลักษณ์เด่นของชนชาวเผ่าปกาเกอะญอ
-
ใจกลางชุมชนบ้านอีซ่า มีต้นมะขามอยู่คู่หนึ่ง มีอายุราว ๆ 100 – 120 ปี ตั้งโดดเด่นอยู่กลางหมู่บ้าน เป็นเสมือนพื้นที่จิตวิญญาณของผู้คนในชุมชนชุมชนบ้านอีซ่ามีลำคลองอีซ่าที่ไหลผ่านชุมชนเป็นระยะทางกว่า 700 เมตร เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนหล่อพ่อวิชา ลติยุโต ท่านเดินธุดงค์จากวัดแถว ๆ คุ้มสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท มาถึงบริเวณนี้ จึงได้เมตตาสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชน เพื่อชะลอความรุนแรงของสายน้ำในฤดูฝน และกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรในฤดูแล้ง ทำให้ชุมชนบ้านอีซ่ามีน้ำใช้ตลอดปี
-
บ้านหนองตาเถร เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีลาวครั่งด้านภูมิปัญญา "นมัสการหลวงพ่อเกสร พักผ่อนหนองตาเถร วัฒนธรรมงามเด่นลาวครั่ง"
-
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน ที่อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีเอาไว้ท่ามกลางสังคมเมืองที่มีพลวัต ทำให้คงอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่มีความโดดเด่น และมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าเอาไว้ได้
-
ใจกลางชุมชนบ้านกุดจะเลิด มีต้นกะพงษ์ขนาดใหญ่ อายุกว่า 100 ปี และมีต้นไทรอายุกว่า 100 ปี อยู่ท้ายหมู่บ้าน เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชนชุมชนบ้านกุดจะเลิดมีแม่น้ำคอกควายที่ไหลผ่านชุมชนเป็นระยะทางกว่า 500 เมตร ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน ชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่กลางหุบเขา มีภูเขาขนาดใหญ่ล้อมรอบดูผิวเผินเหมือนทิวทัศน์ในประเทศสวิสแลนด์ มีความงดงามทางธรรมชาติ