-
ชุมชนย่านตลาดการค้าบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่สถานีรถไฟแม่กลองต่อเนื่องถึงตลาดร่มหุบ วัดเพชรสมุทร ถนนเพชรสมุทรและถนนเกษมสุข ลักษณะส่วนใหญ่เป็นตึกแถว ในอดีตเรียกว่า “แขวงบางช้าง” ต่อมาสมัยกรุงธนบุรีได้แยกออกจากจังหวัดราชบุรีเรียกว่า "เมืองแม่กลอง"" และเปลี่ยนชื่อเป็นสมุทรสงคราม ปัจจุบันพัฒนาเป็นย่านพาณิชยกรรมและเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางราชการ ศาสนาและแหล่งการค้าที่สำคัญของจังหวัด
-
ชุมชนบ้านหัวถนนเป็นชุมชนที่มีชาวไทดำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยยังคงมีการดำรงอัตลักษณ์ในด้านต่าง ๆ เช่น การทำผ้าซิ่นลายแตงโม เสื้อไทและเสื้อฮี และชุมชนบ้านหัวถนนยังมีพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตไทยทรงดำบ้านหัวถนน ที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวไทดำ
-
การอยู่รวมตัวกันของคนจีนและคนไทย วัฒนธรรมประเพณีผสมผสานที่คงอยู่ร่วมกันอย่างเป็นเอกลักษณ์ โดดเด่นด้านการทำเครื่องปั้นดินเผา
-
ชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยหรือต้นอยุธยา ทำให้ภายในชุมชนจึงมีวัดเก่าอย่างวัดสาขลาที่มีโบราณสถานเจดีย์เก่าอยู่ นอกจากนี้ยังมักมีพิพิธภัณฑ์ต่างๆที่จัดแสดงของเก่าโบราณที่หาได้จากภายในชุมชน ทั้งนี้ภายในชุมชนปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่ยังมีการประกอบอาชีพทำประมง เลี้ยงกุ้ง ปู หอย จับปลา ซึ่งด้วยวิถีนี้ทำให้จึงมีการผลิตสินค้าแปรรูปอันเกี่ยวกับของทะเลต่างๆมากมายในชุมชนแห่งนี้ด้วย โดยผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ขึ้นชื่อและโดดเด่นที่สุดจนเป็นของดีของชุมชนสาขลาก็คือกุ้งเหยียดนั่นเอง
-
บ้านช่างฝีมือที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของพระนครอยู่รอบภูเขาทอง หรือชุมชนรอบวัดสระเกศ ฝั่งคลองโอ่งอ่าง เป็นย่านชุมชนเก่าแก่ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการสร้างวัด เป็นแหล่งผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญแห่งหนึ่งของพระนคร ชุมชนช่างฝีมือในละแวกนี้ อย่าง ชุมชน "บ้านดอกไม้" แหล่งผลิตดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล
-
สัมผัสธรรมชาติของป่าชุมชน ปั่นจักรยานชมทัศนียภาพรอบอ่างเก็บน้ำหุบเขาวง ชมพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดพุน้ำร้อนแหล่งรวมมรดกทางวัฒนธรรมอายุกว่า 4,000 ปี ต้นแบบของหมู่บ้านที่ใช้หลักศูนย์รวมใจมาเป็นพลังในการทำงาน ฟื้นป่า ฟื้นคน นำชุมชนสู่ความพออยู่พอกินด้วยศรัทธาและหลัก “บวร”
-
ชุมชนย่านการค้าขนาดใหญ่ของเมืองนครปฐม คาบเกี่ยวบริเวณสำคัญตั้งแต่ตลาดเมืองนครปฐม สถานีรถไฟนครปฐมและพระปฐมเจดีย์ โดยมีลักษณะของอาคารส่วนใหญ่เป็นตึกแถวร้านค้าและที่พักอาศัยที่ทันสมัยและอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นในบริเวณโดยรอบของ 2 ฝั่งของเส้นทางรถไฟ ถนนราชดำเนินและถนนหน้าพระ
-
ชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี มีโบราณสถานเป็นสถานที่เคารพบูชาของคนในชุมชนและผู้คนที่ศรัทธาจากภายนอกชุมชน ได้แก่ วัดธรรมามูล และวัดปากคลองมะขามเฒ่า
-
เป็นชุมชนประมงริมแม่น้ำตรงปากน้ำแม่น้ำแม่กลองก่อนไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทย มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มและป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งอาหารทะเลที่สำคัญ โดยมีการทำการประมงน้ำกร่อยและประมงชายฝั่งทะเล มีบ้านเรือนและร้านค้าอยู่หนาแน่นในบริเวณตะวันตกของถนนราษฎร์ประสิทธิ์และตะวันออกของถนนแหลมใหญ่ และมีสะพานแม่กลองเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมพื้นที่ระหว่างสองฝั่งของแม่น้ำแม่กลอง
-
กุฎีเจริญพาศน์ เป็นกะดีเพียงแห่งเดียวในกลุ่มพื้นที่วัฒนธรรมแขกเจ้าเซ็นสามกะดี-สี่สุเหร่า ที่ยังไม่จดทะเบียนเป็นมัสยิด และยังคงรักษาอัตลักษณ์ความเป็น “กะดี” โดยนามไว้ได้
-
มัสยิดดิลฟัลลาห์ หรือกุฎีนอก หรือกุฎีปลายนา กะดีแห่งสุดท้ายของแขกเจ้าเซ็น เนื่องจากเป็นกะดีแห่งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในสังคมธนบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่บนแนวถนนอิสรภาพ ฝังธนบุรี เช่นเดียวกับกะดีอื่นในพื้นที่ชุมชนไทยชีอะห์อิชนาอะชะรี (สามกะดี-สี่สุเหร่า)