-
ชุมชนตลาดน้ำแห่งแรกในคลองดำเนินสะดวก ปรากฏอาคารร้านค้าที่เป็นห้องแถวไม้กระจายตัวอยู่ริมฝั่งคลองทั้งสองด้าน มีวัดราษฎร์เจริญธรรมเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชน มีการจัดงานสมโภชหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดเป็นประจำทุกปี
-
ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง มีการแสดงรำตงที่เป็นอัตลักษณ์มักใช้เป็นการแสดงต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน ภายในชุมชนยังมีต้นทุเรียน 200 ปี และแหล่งน้ำสำคัญซึ่งเป็นต้นน้ำแม่กลอง ประกอบด้วยลำน้ำ 5 สาย คือลำห้วยนิคูคุ ลำห้วยตาพะ ลำห้วยทิคูทิ ลำห้วยตาอื้อ และลำห้วยชะแย
-
บ้านท้ายเหมืองเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนา และวัฒนธรรม ประกอบด้วยคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงซึ่งเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ คนไทยจากภาคอีสาน ชาวกะเหรี่ยงนอก ทั้งคนพม่า คนทวาย กะเหรี่ยงและมอญ
-
ชุมชนชาวมอญที่มีอายุยาวนานมากกว่าสองศตวรรษ แหล่งมรดกทางภูมิปัญญาภาพจิตรกรรมฝาผนังตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่สลักลวดลายอย่างวิจิตรงดงามไว้บนฝาผนังวัดคงคาราม อีกทั้งยังมีพิพิธิธภัณฑ์พื้นบ้านรวบรวมศิลปะของมีค่าของชาวมอญมาตั้งแต่ยุคโบราณกาล
-
วัฒนธรรมมอญรามัญ วัดดอนกระเบื้อง จุดศูนย์รวมชุมชน ที่มีอายุเก่าแก่สืบมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2
-
ชุมชนมีการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้ากะเหรี่ยง โดยมีศูนย์ทอผ้าบ้านห้วยแห้ง เป็นแหล่งเรียนรู้และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าทอกะเหรี่ยง และชุมชนมีการสืบสานวิถีวัฒนธรรมกะเหรี่ยงด้านต่าง ๆ เช่น อาหารกะเหรี่ยง ประเพณีผูกแขนเรียกขวัญ ประเพณีแห่ฉัตร การทำคังด่ง (โมบายกะเหรี่ยง) เป็นต้น รวมทั้งประชาชนในชุมชนมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาชุมชนให้อยู่ดีมีสุข
-
ตลาดน้ำสองแผ่นดิน ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 2 จังหวัด คือ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นชุมชนเก่าแก่มีอายุไม่ต่ำกว่า 150 ปี ปรากฏอาคารบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่มีความสำคัญกับชุมชนทั้งในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจหลายแห่ง
-
ระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน นอกจากนี้พื้นที่ในชุมชนบ้านขุนแม่เหว่ย ยังแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ พื้นที่ป่าตามความเชื่อ ป่าอนุรักษ์ ป่าใช้ประโยชน์ พื้นที่ป่าตามโครงการของรัฐ
-
ชุมชนริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่ที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำเค็มมากที่สุดในปี พ.ศ. 2548 โดยเฉพาะปูม้า ทำให้อาชีพการทำประมงปูม้าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ชุมชน เกิดเป็นแนวคิดจัดตั้ง “ธนาคารปูม้า” เพื่อสร้างระบบในการบริหารจัดการปูม้า เพื่ออนุรักษ์ปูม้าให้คงเป็นทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์และเป็นสัตว์เศรษฐกิจของชุมชนต่อไป