-
บ้านหม้อ ตั้งถัดมาจากบ้านลาว เป็นชุมชนชาวญวนที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบอาชีพทำหม้อและภาชนะหุงต้มต่าง ๆ ต่อมาเมื่อมีภาชนะสมัยใหม่เข้ามาแทนจึงได้เลิกอาชีพนี้ไป ภายหลังกลายเป็นย่านขายเครื่องเพชร อัญมณี และเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงของพระนคร ปัจจุบันเป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเสียงจำนวนมาก
-
ชุมชนบ้านโคกลำดวนได้เรียนรู้ประสบการณ์จากความล้มเหลวในการประกอบอาชีพ สร้างเป็นแรงผลักดันจากความพยายามต่อสู้ดิ้นรนในการทํามาหากิน จนค้นพบ “ไผ่ตง” และ “ผักหวาน” พืชเศรษฐกิจพลิกฟื้นชีวิตชาวโคกลำดวนให้กลับมาสู่แสงสว่างอีกครั้ง
-
หมู่บ้านปงหัวลาน มีลักษณะพื้นที่ราบลุ่ม เป็นเชิงเขา จึงทำให้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำสวน ทำนา เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการทำการเกษตร อาศัยแหล่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยลาน นอกจากนี้บ้านปงห้วยลานยังมี Home Stay เปิดบริการให้นักท่องเที่ยวได้มาพักผ่อนซึ่งเป็นอีกอาชีพของคนในชุมชนอีกด้วย
-
ชุมชนแห่งการทำหัตถกรรม มีเครื่องปั้นดินเผาเป็นที่เลื่องชื่อ และแบบแผนวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์
-
เป็นชุมชนที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีการดำรงชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
-
ชุมชนที่มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ เพราะเป็นบริเวณที่มีการเดินทางไปมาหสู่ของประชาชนทั้งสองประเทศ จึงมีความหลากหลายของผู้คน แต่คนในชุมชนก็อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
-
หมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ชาวลาวเวียงที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของชาวลาวเวียงค่อนข้างเด่นชัด ได้แก่ ตักบาตรหาบจังหัน, ประเพณีไหลแพไฟ, พิธีขอบคุณพืชพันธ์ – ธัญญาหาร นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่เก็บรักษาประวัติศาสตร์ของหมู่บ้าน เพื่อให้ผู้คนที่ได้เข้ามาได้เรียนรู้อีกด้วย
-
ชุมชนเล็ก ๆ ริมคลองที่มีดีเรื่องของกิน และงานฝีมือที่ถูกสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เพราะแต่เดิมในยุคพลอยเฟื่องฟูชาวบ้านที่นี่มีอาชีพหลักคือ เจียระไนพลอย แต่เมื่อพลอยดิบเริ่มหายากงานเจียระไนค่อย ๆ เลือนหายไป ทว่าเรื่องอาหารและขนมของที่นี่กลับมีชื่อเสียงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะขนมพื้นบ้าน ขนมชื่อแปลกอย่าง "ขนมควยลิง" ขนมโบราณที่ส่งต่อความอร่อยกับแบบรุ่นต่อรุ่น