บ้านแม่ลา
เป็นแหล่งอาศัยและแหล่งอาหารที่สำคัญของปลานานาชนิด โดยเฉพาะ “ปลาช่อน” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตำบลแม่ลา
กาดกองต้า
ชุมชนเก่าแก่คู่เมืองลำปางบนพื้นที่สำคัญอันเป็นเส้นทางการค้าริมฝั่งแม่น้ำวังที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งอดีต ซึ่งยังคงหลงเหลือร่องลอยสลักจารลงบนอาคารสถาปัตยกรรมริมถนน สู่การปรับเปลี่ยนพื้นที่ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจที่คึกคักที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง
ตลาดลำพญา
ชุมชนตลาดวัดลำพญาเป็นชุมชนการค้าริมแม่น้ำนครชัยศรี ที่มีการเปิดขายสินค้าหรือผลิตผลจากชาวบ้านในชุมชน โดยภายในตลาดมีสินค้าบริโภค เช่น อาหารคาวหวานต่าง ๆ ทั้งแบบสดและแบบแปรรูป ทั้งนี้นอกจากตลาดแล้วภายในชุมชนยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตลาดน้ำวัดลำพญา ซึ่งจัดแสดงของเก่าและของใช้พื้นบ้านท้องถิ่นที่หาดูยากในอดีตให้แก่นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชม
บ้านปงแสนทอง
ชุมชนริมน้ำทางทิศตะวันตกของแม่น้ำวัง เป็นหนึ่งในพื้นที่หน้าด่านที่สำคัญของเมืองลำปาง อักทั้งมีเครื่องเซรามิคและลายเบญจรงค์ที่เป็นลวดลายที่สวยงาม
บ้านเข็กน้อย
หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านเข็กน้อย
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กับวิถีชีวิตและมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าสู่การพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมศักยภาพและฐานรากด้านเศรษฐกิจของสมาชิกในชุมชน
บ้านดงบัง
ชุมชนท่องเที่ยวที่มี “ฮูปแต้ม” อายุเก่าแก่กว่า 200 ปี ซึ่งเป็นภาพเขียนสีบนผนังของพระอุโบสถหรือ
“สิม” ในภาษาอีสาน เป็นท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม
บ้านควนยูง
บ้านควนยูงมีพื้นที่ป่าชุมชนขนาดใหญ่กว่า 52 ไร่
สถานที่ซึ่งเปรียบเสมือนลมหายใจของลูกหลานชาวควนยูง
บ้านยาง
ภายในชุมชมมีสิมโบราณวัดยางทวงวราราม
(วัดบ้านยาง) ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ช่างพื้นถิ่นเขียนเรื่องราวในพระพุทธศาสนา เช่น
ภาพพุทธประวัติ พระมาลัย เวสสันดร และนิทานปาจิต-อรพิมพ์
นอกจากนั้นแล้วช่างยังวาดภาพวิถีชีวิตของคนอีสานเข้าไปในภาพนิทาน/พุทธประวัติด้วย
จึงทำให้สิมวัดบ้านยางได้รับยกย่องว่าเป็นโบราณสถานที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง
บ้านโนนแสบง
ชุมชนโนนแสบงเป็นชุมชนเกษตรกรรม ทำนา เมื่อว่างเว้นจากการทำนาจึงมีการจับกลุ่มทอผ้าสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
นอกจากนั้นยังมีกลุ่มทำธุงซึ่งผลิตเพื่อขายสร้างรายได้เพิ่ม
นอกจากนั้นยังเป็นชุมชนที่เป็นที่ตั้งของวงหมอลำชื่อดัง หมอลำใจเกินร้อย
บ้านนาราชควาย
จุดเด่นของชุมชนเเห่งนี้ คือ การดำรงอยู่แบบเครือญาติ อยู่แบบพี่น้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เคารพผู้อาวุโส ซึ่งตรงกันข้ามกับสถานการณ์ในสังคมของอีสานที่มีเเนวโน้มลดลงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของกระเเสโลกาภิวัตน์