บ้านควนยูง
บ้านควนยูงมีพื้นที่ป่าชุมชนขนาดใหญ่กว่า 52 ไร่
สถานที่ซึ่งเปรียบเสมือนลมหายใจของลูกหลานชาวควนยูง
บ้านไร่
ชุมชนบ้านไร่ เป็นหนึ่งในชุมชนชาติพันธุ์ของชาว “ญัฮกุร” ที่ยังคงแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ เช่น การใช้ภาษาญัฮกุร วัฒนธรรมการกิน การใส่เสื้อพ้อก และการทำสวนสมุนไพร อีกทั้งบ้านไร่ยังเป็นชุมชนที่ได้รับความสนใจเข้ามาศึกษาจากนักวิชาการหลายทศวรรษ ความรู้ทางวิชาการและความเข้มแข็งของชุมชนก่อให้เกิด “กลุ่มเยาวชน” ที่คอยหล่อเลี้ยงอัตลักษณ์ญัฮกุรให้ยังคงอยู่
บ้านแม่ลา
เป็นแหล่งอาศัยและแหล่งอาหารที่สำคัญของปลานานาชนิด โดยเฉพาะ “ปลาช่อน” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตำบลแม่ลา
ตลาดวัดสิงห์
ชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี มีโบราณสถานเป็นสถานที่เคารพบูชาของคนในชุมชนและผู้คนที่ศรัทธาจากภายนอกชุมชน ได้แก่ วัดธรรมามูล และวัดปากคลองมะขามเฒ่า
บ้านดงบัง
ชุมชนท่องเที่ยวที่มี “ฮูปแต้ม” อายุเก่าแก่กว่า 200 ปี ซึ่งเป็นภาพเขียนสีบนผนังของพระอุโบสถหรือ
“สิม” ในภาษาอีสาน เป็นท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม
บ้านนาราชควาย
จุดเด่นของชุมชนเเห่งนี้ คือ การดำรงอยู่แบบเครือญาติ อยู่แบบพี่น้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เคารพผู้อาวุโส ซึ่งตรงกันข้ามกับสถานการณ์ในสังคมของอีสานที่มีเเนวโน้มลดลงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของกระเเสโลกาภิวัตน์
บ้านยาง
ภายในชุมชมมีสิมโบราณวัดยางทวงวราราม
(วัดบ้านยาง) ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ช่างพื้นถิ่นเขียนเรื่องราวในพระพุทธศาสนา เช่น
ภาพพุทธประวัติ พระมาลัย เวสสันดร และนิทานปาจิต-อรพิมพ์
นอกจากนั้นแล้วช่างยังวาดภาพวิถีชีวิตของคนอีสานเข้าไปในภาพนิทาน/พุทธประวัติด้วย
จึงทำให้สิมวัดบ้านยางได้รับยกย่องว่าเป็นโบราณสถานที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง
บ้านไร่อ้อย
แหล่งกักเก็บน้ำสำคัญ อ่างเก็บน้ำแม่ปืม เป็นบริเวณที่มีสายน้ำกว้างใหญ่ มีทุ่งหญ้าเขียว และมีภูเขาสูงชัน ต้นไม้เรียงรายอย่างสวยงาม เป็นจุดต้นกำเนิดของลำน้ำสำคัญ 2 สายคือ ลำน้ำแม่แก้ว และลำห้วยแม่ปืม ทำให้ที่นี่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี และมีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก