-
เอกลักษณ์ของพื้นที่ของชุมชนบ้านญวณสามเสน คือโบสถ์ทั้งสองโบสถ์ภายในพื้นที่และบ้านโบราณเป็นอาคารที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน และความแตกต่างด้านวัฒนธรรมของเชื้อชาติที่ต่างกันแต่อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียว
-
“โอตารุเมืองไทย” คำขนานนามลำคลองสายประวัติศาสตร์คลองแม่ข่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมใจกลางเมืองเชียงใหม่
-
ชุมชนหัตถกรรมอันลือชื่อในด้านการประดิษฐ์หรือหล่อพระพุทธรูป ที่ได้สืบทอดต่อกันมายาวนานกว่า 700 ปี
-
ชุมชนตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตลุ่มน้ำโดยไม่ได้อยู่บนผืนแผ่นดิน ตั้งอยู่ที่ปากน้ำเวฬุที่เป็นน้ำกร่อย มีป่าชายเลนให้ล่องเรือเที่ยว ชมเหยี่ยวแดงที่หายากและหิ่งห้อย มีบริการที่พักโฮมสเตย์ และมีอาหารทะเลสดๆ ให้รับประทาน
-
ชุมชนมอญที่อพยพมาจากเมืองทวายและมะริด ยังคงนับถือพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น ภายในชุมชนวัดประดิษฐาราม มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระนอน
-
ชุมชนไม้เรียงเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ และแร่ธาตุซึ่งเคยเป็นแหล่งรายได้สำคัญของชาวไม้เรียงในอดีต จึงเป็นที่มาของคำขวัญประจำตำบลไม้เรียงว่า “ร่มเงาเขาศูนย์ วุลเฟรมลอล้ำ ยิปซั่มแน่นหนา ยางพาราดีเด่น เยือกเย็นน้ำใจ สุขฤทัยทั่วกัลป์”
-
บ้านบาตร บริเวณสี่แยกเมรุปูน ถนนบำรุงเมือง ชุมชนตั้งขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เพราะปรากฏคำบอกเล่าที่แตกต่างกันไป บ้างว่าคนบ้านบาตรเดิมเป็นชาวกรุงศรีอยุธยาอพยพมาตั้งแต่เมื่อครั้งเสียกรุงฯ บ้างว่าเป็นชุมชนที่เพิ่งมาตั้งถิ่นฐานเมื่อแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นชุมชนที่มีฝีมือในการทำบาตรพระมาช้านาน ในอดีตผลผลิตที่ได้จะส่งไปจำหน่ายที่ตลาดย่านเสาชิงช้าและย่านสำเพ็ง ปัจจุบันเหลือบ้านทำบาตรพระเพียงไม่กี่ครอบครัวเท่านั้น
-
ชุมชนเก่าริมคลองอายุกว่า 100 ปี ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมชาวมอญและจีน ภายในชุมชนยังมีแหล่งเรียนรู้ และสถานที่เก่าแก่ที่คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์เอาไว้อีกด้วย
-
พื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันจำนวนมาก มีพื้นที่ติดกับชุมชนบ้านสมเด็จและชุมชนบางไส้ไก่ กระทั่งกลายเป็นย่านที่รวมผู้คนหลายศาสนาหลากวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน โดยมี "วัดหิรัญจูรี" เป็นศาสนสถานสำคัญที่เปรียบเสมือนสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของผู้คนในชุมชน
-