-
บ้านบ่อแก้ว ตั้งอยู่ในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่งสะกอหรือปกาเกอะญอ ปัจจุบันมีการพัฒนาพื้นที่การเกษตรเชิงเศรษฐกิจเป็นแหล่งขึ้นชื่อในการทำไร่สตรอว์เบอร์รี ปลูกข้าวดอย รวมถึงการปลูกกาแฟ ซึ่งมีการส่งขายไปยังร้านกาแฟชื่อดังหลายแบรนด์ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของเหมืองแร่ดีบุก-ทังสเตน
-
ไทย-จังโหลน ชุมชนแหล่งท่องเที่ยวทางสถานบันเทิงและสถานบริการที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในพื้นที่เขตพรมแดนระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย
-
ชุมชนชาวอูรักลาโวยจบ้านแหลมตุ๊กแก ธำรงวัฒนธรรมประเพณีแบบดั้งเดิมไว้ได้อย่างเข้มแข็ง เช่น ประเพณีลอยเรือ การรำรองเง็ง
-
ชุมชนที่มีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ภาษาเป็นของตนเอง และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย
-
ศูนย์วัฒนธรรมอนุสรณ์สถานสงครามโลกครั้งที่สอง สถานที่บอกเล่าเรื่องราวตำนานรัก "โกโบริ-อังศุมาลิน" แห่งขุนยวม อีกทั้งยังเป็นอนุสรณ์สถานเก็นรวบรวมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สงครามมหาเอเชียบูรพาที่เกิดขึ้น ณ เมืองขุนยวม
-
บ้านเก็ตเป็นแหล่งทอและจำหน่ายผ้าทอไทลื้อที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น นอกจากนี้ ยังมี "วัดภูเก็ต" เป็นสถานที่สำคัญของหมู่บ้าน เดิมตั้งชื่อตามชื่อหมู่ของบ้านที่ชื่อว่าหมู่บ้านเก็ต แต่ด้วยวัดตั้งอยู่บนเนินเขา ซึ่งคนภาคเหนือเรียกว่า ดอยหรือภู จึงได้ตั้งชื่อตามลักษณะที่ตั้งว่า "วัดภูเก็ต" หมายถึง วัดบ้านเก็ตที่อยู่บนภูหรือดอย
-
ชุมชนเข้มแข็ง มีแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่เพื่อการเกษตรเพียงพอ มีความอุดมสมบูรณ์ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ ได้รับสวัสดิการครบครัน คนมีคุณภาพชีวิตดี ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง
-
ชุมชนบ้านไร่สะท้อนแห่งนี้มีภูมิปัญญาและวิถีชีวิตอันผูกพันอยู่กับต้นตาล จึงมีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในการนำตาลมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ผู้คนในชุมชนยังเปิดแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับต้นตาลให้แก่บุคคลภายนอกผ่านการท่องเที่ยงเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม
-
ชุมชนบ้านกาด เป็นชุมชนชนบท ที่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบเครือญาติและชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนจะเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนตั้งแต่เกิด ปรากฏวัฒนธรรมประเพณีที่ทำกันตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษแล้วถ่ายทอดกันมาสู่รุ่นต่อรุ่น ได้แก่ งานทำบุญทานข้าวใหม่ งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง (วันสงกรานต์) งานทำบุญสรงน้ำพระธาตุ งานไหว้ศาลเจ้าบ้าน งานทำบุญถวายทานสลากภัต และงานทอดกฐินสามัคคี
-
ชุมชนชาวลาวครั่งที่มีประวัติศาสตร์การรวมตัวก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 แหล่งต้นกำเนิดเรื่องราวตลกร้ายอันโด่งดังที่เกิดกับอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เหตุการณ์สำคัญที่นำพาบ้านวังน้ำขาวสู่สายตาผู้คน
-
ศิลปสถาปัตยกรรมล้านนาที่ผสมผสานกับศิลปสถาปัตยกรรมไตลื้อ และวิถีชีวิตของชาวไตลื้ออันเป็นเอกลักษณ์ ทั้งประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรม การแต่งกาย และอาหาร