-
ชุมชนบ้านสามสบบน ในพื้นที่บริเวณจุดบรรจบของลำห้วยใหญ่สามสาย เรียกว่า “สามสบ” พื้นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขากะเหรี่ยง (สะกอ) กับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ
-
หมู่บ้านพื้นที่สูง อากาศดีเย็นตลอดทั้งปี มีผลไม้เมืองหนาว ผักพืชผล อาทิ พีช พลับ พลัม ลูกเชอรี่ มะม่วงนอกฤดู ชุมชนยังคงเอกลักษณ์ ด้านการแต่งกาย ภาษา ดนตรีลีซูปละผืนป่าที่ยังคงเดิมและต้นไม้ที่หนาแน่น
-
ชุมชนบนสันดอยในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยบ่อ หมู่บ้านที่มีการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อแบบดั้งเดิม มีการจัดการการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ อีกทั้งยังมีกิจกรรมหลากหลายให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส เช่น กางเต็นท์บนจุดชมวิวดอยบ่อทะเลหมอกยามเช้า การสอนทำอุปกรณ์ไม้ไผ่ เรียนรู้วิถีชุมชน และการเดินป่าไปยังน้ำตกโดยไกด์ชาวลาหู่
-
หมู่บ้านเล็ก ๆ ของชาวปกาเกอะญอที่มีประชากรเพียงไม่กี่หลังคาเรือน และยังคงดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย มีมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่สวยงาม
-
ชุมชนชาวมอญในแถบชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เขตลาดกระบัง มีวัดทิพพาวาส เป็นศูนย์กลางของชุมชนซึ่งเป็นวัดมอญเก่าแก่อายุกว่า 100 ปีมีอุโบสถไม้สักทอง และยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีตักบาตรพระร้อย ประเพณีการทำบุญกลุ่มเทศน์ ประเพณีการทิ้งบาตร ประเพณีเกี่ยวการบวช ประเพณีเกี่ยวกับความตาย วัฒนธรรมด้านอาหาร เช่นข้าวแช่ แกงกระเจี๊ยบ แกงมะตาด แกงบอน ปลาร้ามอญ ขนมกาละแม ข้าวเหนียวแดง กระยาสารท
-
ชุมชนชาวไทเขินซึ่งเป็นชุมชนเกษตรกรรมมีวัดพระธาตุดอยผาตั้งเป็นศูนย์กลางในการรวมตัวในการประกอบกิจกรรมทางศาสนา
-
บ้านห้วยงู บ้านของชาวลาหู่ เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของชาวเมืองคอง สนุกไปกับสายน้ำด้วยกิจกรรมการล่องแพ
-
-
เคยเป็นพื้นที่ของชาวลัวะมาก่อน ต่อมามีการเคลื่อนย้ายกลุ่มคนและเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่โดยกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ มีการอยู่อาศัยและทำกินบนพื้นที่แห่งนี้มากกว่าร้อยปี เดิมเป็นหย่อมบ้านที่ขึ้นกับหมู่ที่ 6 บ้านแม่ลานคำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จึงได้ทำการแยกเป็นหมู่บ้านป่านอก หมู่ที่ 11
-
บ้านบ่อมอญ-บ่อพราหมณ์ เป็นชุมชนที่สืบสานพิธีกรรมงานปีผีมด พิธีกรรมที่สะท้อนระบบความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติภายในชุมชน นอกจากนี้การประกอบพิธีกรรมนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางจิตใจแก่บุคคล สร้างสำนึกความเป็นกลุ่ม สร้างระบบการควบคุมทางสังคม สร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายให้แก่ชุมชน การสืบสานพิธีกรรมของชุมชน ทำให้ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับชาติ ปี พ.ศ. 2566