-
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปบ้านเสน่ห์พ่องบนพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ กับมรดกภูมิปัญญาตำรับยาสมุนไพรสะเนพ่อง และวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ชุมชน
-
-
เลโคะ หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงโปว์เล็ก ๆ ที่ยังคงประกอบอาชีพดั้งเดิม คือ การจักสานและทอผ้า ซึ่งช่างหัตถกรรมที่นี่มีฝีมือดี ต่อมาจึงได้พัฒนาหมู่บ้านเป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของชุมชน นอกจากนี้ชาวบ้านยังปลูกกาแฟ ซึ่งเอกลักษณ์ของกาแฟบ้านเลโคะ คือ ต้นกาแฟปลูกในพื้นที่ที่ไม่สูงมากนักหากเทียบกับกาแฟของที่อื่น แต่เป็นต้นกาแฟที่ได้รับดิน น้ำ และอากาศที่อุดมสมบูรณ์ โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟธรรมชาติบ้านเลโคะ
-
-
บ้านแม่ออกฮู พื้นที่ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง จากศูนย์พักพิงชั่วคราวสู่ชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีมนต์เสน่ห์ทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เฉพาะ
-
บ้านปางแดงนอก ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ดาราอางที่อพยพถิ่นฐานเข้ามาในอำเภอเชียงดาวเพื่อการแสวงหาพื้นที่ทำกิน กับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางสังคมกลายเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม
-
ชุมชนชาวปกาเกอะญอ การอยู่ร่วมกันของคนกับป่า และประเพณีสำคัญที่ยึดโยงกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การนับถือฤาษีที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจคนในชุมชน ทำให้บ้านหม่องกั๊วะมีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาธรรมชาติในฐานะกลุ่ม "ต้นทะเล"
-
ชุมชนบ้านสามสบบน ในพื้นที่บริเวณจุดบรรจบของลำห้วยใหญ่สามสาย เรียกว่า “สามสบ” พื้นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขากะเหรี่ยง (สะกอ) กับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ
-
การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ขยับขยายพื้นที่เป็นชุมชนกลุ่มเล็ก ๆ กับสังคมพหุวัฒนธรรมและกลุ่มทางความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์
-
บ้านพลั่งแท ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กับการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และวิถีชีวิตวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์
-
ชุมชนชาวกะเหรี่ยงหรือปกาเกอะญอที่มีประวัติศาสตร์ว่าเคยเป็นเมืองที่ชาวลัวะและไทใหญ่เคยอยู่อาศัยมาก่อน ในชุมชนพบหลักฐานทางโบราณคดีของสมัยล้านนา ได้แก่ โบราณสถาน และกล้องยาสูบดินเผาที่เป็นของใช้ของชาวลัวะ ปัจจุบันคนในชุมชนยังคงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และสืบทอดการทำงานหัตถกรรมดั้งเดิม ได้แก่ การทอผ้ากี่เอว การแกะสลักไม้ และการทำเครื่องจักสาน ซึ่งผ้าฝ้ายทอมือจากบ้านเมืองแพมเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว