-
ใจกลางชุมชนมีต้นมะขามยักษ์อายุกว่าร้อยปี เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองแห้ง (ปัจจุบันนี้ต้นไม้นี้ตายไปแล้ว)ในชุมชนบ้านคลองแห้งมีต้นไทรขนาดใหญ่อยู่ท้ายหมู่บ้าน ปัจจุบันเป็นรุกขมรดกทางวัฒนธรรม เป็นศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของชุมชน เป็นต้นไม้ที่คนในชุมชนใช้ในการประกอบพิธีค้ำต้นไทรประจำปีมีแม่น้ำคลองแห้งเป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้ และเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีความสำคัญต่อการดำรงวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองแห้งมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ที่ชาวกะเหรี่ยงบ้านคลองแห้งใช้บริการด้านสุขภาพมีโรงเรียนบ้านคลองแห้งวิทยาเป็นสถานศึกษาสำหรับลูกหลาน ชาวชาวกะเหรี่ยง ทำให้ลูกหลานไม่ต้องไปเรียนห่างไกลบ้านวัดคลองแห้งวัฒนาราม เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวกะเหรี่ยงโปว์ เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจและเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้าน
-
ชุมชนตั้งระหว่าง 2 จังหวัด คั่นด้วยคลอง พื้นที่โดยส่วนใหญ่ทำการเกษตร ถือเป็นพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพฯ ยังคงดำรงรักษาวิถีชีวิต และประเพณีมอญอย่างเคร่งครัด
-
ศาสนสถานที่มีลักษณะสวยงามเป็นเอกลักษณ์ เกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันของกลุ่มเชื้อสายยะวาที่เข้ามาในประเทศไทย และตั้งอยู่ในพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ
-
-
บ้านสุเม่นเหนือ หย่อมบ้านห้วยระแห้ ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูที่มีวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ กับการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์
-
ชุมชนชาวมอญในแถบชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เขตลาดกระบัง มีวัดทิพพาวาส เป็นศูนย์กลางของชุมชนซึ่งเป็นวัดมอญเก่าแก่อายุกว่า 100 ปีมีอุโบสถไม้สักทอง และยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีตักบาตรพระร้อย ประเพณีการทำบุญกลุ่มเทศน์ ประเพณีการทิ้งบาตร ประเพณีเกี่ยวการบวช ประเพณีเกี่ยวกับความตาย วัฒนธรรมด้านอาหาร เช่นข้าวแช่ แกงกระเจี๊ยบ แกงมะตาด แกงบอน ปลาร้ามอญ ขนมกาละแม ข้าวเหนียวแดง กระยาสารท
-
หมู่บ้านที่แยกตัวออกมาจากบ้านนาตะกรุด หมู่ 1 ลักษณะเป็นพื้นที่ราบสลับกับเนินเขา อยู่ห่างจากอำเภอศรีเทพไม่มากนัก
-
ชุมชนเก่าแก่ที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตผู้คนที่ใช้ชีวิตกันแบบเรียบง่าย
-
บ้านโค้งวิไล ชูโอทอป ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ไข่เค็มสมุนไพร และผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดภัย
-
เป็นชุมชนที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งอยู่ร่วมกัน มีวัดทุ่งผักกุดเป็นศูนย์กลางชุมชนและเป็นอนุสรณ์สถาน มีการสร้างด้วยสถาปัตยกรรมอาคารไม้อายุกว่าร้อยปี
-
ชุมชนชาวมุสลิมที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในระยะแรกไม่กี่ครัวเรือนก่อนที่จะมีการพัฒนากรุงเทพทำให้เริ่มมีการอพยพของชาวมุสลิมในตัวเมืองกรุงเทพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้จนกลายเป็นชุมชนชาวมุสลิมขนาดใหญ่