-
ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่มีแม่น้ำปราณบุรีไหลผ่าน ทำให้บ้านฝั่งท่ามีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งในด้านการเกษตร พืชพรรณ สัตว์น้ำและนกมากมาย นำไปสู่การพัฒนาเป็นศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านฝั่งท่าซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2539
-
-
ชุมชนชาวปกาเกอะญอ การอยู่ร่วมกันของคนกับป่า และประเพณีสำคัญที่ยึดโยงกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การนับถือฤาษีที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจคนในชุมชน ทำให้บ้านหม่องกั๊วะมีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาธรรมชาติในฐานะกลุ่ม "ต้นทะเล"
-
นั่งหลังช้างชมธรรมชาติ สัมผัสบรรยากาศหมู่บ้านกลางหุบเขา ยลวิถีอัตลักษณ์ปกาเกอะญอที่บ้านทิโพจิ
-
ชุมชนมีห้วยน้ำโรคี่ไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ เต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ ในหมู่บ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชผักทุกชนิด และมีแหล่งน้ำสะอาดใช้อุปโภคบริโภค และเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาได้หลากหลายชนิด
-
ชุมชนการค้าและที่พักอาศัย ตั้งอยู่โดยรอบสถานีรถไฟปราณบุรี มีการจัดถนนคนเดินตลาดเก่าปราณบุรี เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน บริเวณตลาดเก่าปราณบุรีที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมเรือนไม้แบบดั้งเดิม ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบันแต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของเรือนไม้แบบดั้งเดิมเอาไว้
-
-
บ้านบ่อมอญ-บ่อพราหมณ์ เป็นชุมชนที่สืบสานพิธีกรรมงานปีผีมด พิธีกรรมที่สะท้อนระบบความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติภายในชุมชน นอกจากนี้การประกอบพิธีกรรมนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางจิตใจแก่บุคคล สร้างสำนึกความเป็นกลุ่ม สร้างระบบการควบคุมทางสังคม สร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายให้แก่ชุมชน การสืบสานพิธีกรรมของชุมชน ทำให้ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับชาติ ปี พ.ศ. 2566
-
เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขา มีประชากรประมาณ 1,633 คน มีหลังคาเรือน 324 หลังคาเรือน มีโรงเรียน 1 แห่ง เปิดสอนตั้งแต่อนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง
-
ชุมชนเกษตรกรรมที่มีเรือนทรงไทยอยู่หลายหลังในพื้นที่ ปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตทำตาลโตนดที่มีชื่อเสียง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลองบางจากไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกของตำบล เหมาะสำหรับทำนาและทำตาล (น้ำตาลโตนด)