-
ตะลุงเก่าเมืองโบราณ บานสะพรั่งดอกบัวแดง แหล่งต้นกำเนิดประโคนชัย มากมายอารยธรรม ดินแดนประวัติศาสตร์แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ที่พบหลักฐานวัฒนธรรมสมัยทวารวดี และปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในอดีต
-
บ้านเวียคะดี้ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ พ.ศ. 2558 ชุมชนนวัตวิถีแห่งเมืองกาญจนบุรี
-
ด้วยความสัมพันธ์ของผู้คนที่แนบชิด การไปมาหาสู่ระหว่างหมู่บ้านเป็นไปได้โดยง่าย เกิดการแลกปลี่ยนวัฒนธรรมพื้นบ้านระหว่างกัน จนกลายเป็นหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์โส้ที่ยังคงรักษา สืบทอด วัฒนธรรม จากรุ่นสู่รุ่นผ่านการทำกิจกรรมตามประเพณี
-
ชุมชนชาติพันธุ์ลาวเวียงที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณใกล้กับแม่น้ำแม่กลอง ผู้คนในชุมชนยังคงมีการยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของบรรพบุรุษชาวลาวเวียงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การตั้ง "ศาลปู่ตา" การประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต อาหาร และการแต่งกาย
-
ชุมชนบ้านหัวถนนเป็นชุมชนที่มีชาวไทดำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยยังคงมีการดำรงอัตลักษณ์ในด้านต่าง ๆ เช่น การทำผ้าซิ่นลายแตงโม เสื้อไทและเสื้อฮี และชุมชนบ้านหัวถนนยังมีพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตไทยทรงดำบ้านหัวถนน ที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวไทดำ
-
ชุมชนที่ให้ความสำคัญกับป่าไม้ จึงร่วมกันจัดตั้งองค์กรและช่วยกันอนุรักษ์ป่าน้ำจำ ซึ่งเป็นป่าชุมชนที่มีความสำคัญ
-
นกกระเรียนพันธ์ุไทย สัตว์ป่าสงวนที่เคยสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยจนต้องมีโครงการนำนกกระเรียนคืนนถิ่น มิติความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์ สู่การอนุรักษ์ระบบนิเวศชุมชนบ้านสวายสอ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
-
ชุมชนที่มีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ภาษาเป็นของตนเอง และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย
-
“บ้านแม่ปั๋ง” เป็นหมู่บ้านชนบทที่ตั้งอยู่บนเนินดอย มีวัดดอยแม่ปั๋ง หรือวัดหลวงปู่แหวน ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอพร้าว ภายในวัดเงียบสงบ มีพื้นที่พักผ่อนจิตใจเหมาะสำหรับการมาปฏิบัติธรรม
-
ชุมชนผู้ไทบ้านจุมจังมีธรรมาสน์เสาเดียว ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดจุมจังเหนือฝังเสาธรรมาสน์ทะลุพื้นศาลาลงดินตามคติความเชื่อของชาวผู้ไท ซึ่งมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นศาสนวัตถุเชิงสัญลักษณ์ต่อการประกอบพิธีกรรมตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวผู้ไท
-
สัมผัสธรรมชาติของป่าชุมชน ปั่นจักรยานชมทัศนียภาพรอบอ่างเก็บน้ำหุบเขาวง ชมพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดพุน้ำร้อนแหล่งรวมมรดกทางวัฒนธรรมอายุกว่า 4,000 ปี ต้นแบบของหมู่บ้านที่ใช้หลักศูนย์รวมใจมาเป็นพลังในการทำงาน ฟื้นป่า ฟื้นคน นำชุมชนสู่ความพออยู่พอกินด้วยศรัทธาและหลัก “บวร”
-
หมู่บ้านบุ่งกะแทว เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ส่งผลให้ภายในชุมชนมีความหลากหลายทางศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณี