-
บ้านแม่หอย ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือชาวกะเหรี่ยงสะกอ ชุมชนบนพื้นที่เนินสูงกลางหุบเขาที่มีทรัพยากรป่าไม่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งชีวิตของชุมชน และการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อท้องถิ่น
-
ชุมชนชาวมอญโบราณที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย วิถีชีวิตของผู้คนกับสายน้ำ และการรักษาวิถีวัฒนธรรมแบบมอญที่เป็นเอกลักษณ์
-
-
ผืนป่าชุมชนมีสภาพเป็นป่าดิบชื้นอุดมสมบูรณ์ ป่าต้นน้ำเป็นพื้นที่อนุรักษ์ใช้ประโยชน์ดูดซับน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคและเกษตร ชุมชนนิยมปลูกข้าวพันธุ์ บือพะโด๊ะ บือโพ ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น กะหล่ำปลี ซูคีนี่ ถั่วลิสง ถั่วพูและพืชพื้นถิ่นอื่น ๆ ตามปลายไร่นา
-
ชุมชนปกาเกอะญอที่อาศัยพึ่งพิงธรรมชาติ มีวิถีชีวิตการทำไร่หมุนเวียน เอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์เฉพาะตน
-
ย่านเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์นับหลายร้อยปี บนพื้นที่ที่มีความสำคัญทางการค้า เมืองท่า ด่านเก็บภาษี จุดพักสินค้าริมน้ำเจ้าพระยา กับพัฒนาการทางสังคมสู่อัตลักษณ์เฉพาะถิ่น
-
ชาวบ้านป่าคานอก มีรูปแบบการทำไร่หมุนเวียนโดยยึดโยงเอาคติความเชื่อ จารีต ประเพณีดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของวิถีการทำไร่
-
-
บ้านห้วยหาด ชุมชน “จิ๋วแต่แจ๋ว” ต้นแบบของการปรับตัวจากวิกฤติในยุคต่าง ๆ เปลี่ยนพื้นที่ไร่เลื่อนลอยเป็นนาข้าว เปลี่ยนเขาหัวโล้นเป็นป่าเขียวขจี นำพาชุมชนที่อ่อนแอเพราะหนี้สินสู่ชุมชนที่แข็งแกร่งได้ด้วยการพึ่งตนเอง
-
บ้านอ่าวบอน ศูนย์วัฒนธรรมศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตชาวมอแกน สถานที่ที่ยังคงกลิ่นไอและรูปแบบการดำเนินชีวิตดั้งเดิมของชาวยิปซีทะเลอย่างเข้มข้น ดังคำกล่าวที่ว่า “เที่ยวหมู่เกาะสุรินทร์ เยือนถิ่นชุมชนมอแกน”
-
บ้านหล่อโย ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อาข่ากับการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และภูมิปัญญาการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
-
ชุมชนที่มีผู้คนตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงปัจจุบัน มีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ 3 แห่ง คือ เพิงผาถ้ำลอด ถ้ำผีแมนโลงลงรัก และถ้ำลอด ปัจจุบันเป็นชุมชนของชาวไทใหญ่ บ้านถ้ำลอดจึงมีมรดกทางวัฒนธรรมทั้งในอดีตและร่วมสมัย รวมถึงมรดกทางธรรมชาติ คือ "ถ้ำน้ำลอด" ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียง