-
ชุมชนชาวญ้อ ผู้คนในชุมชนมีภาษาพูดของตนเองในการสื่อสารระหว่างกัน เรียกว่า ภาษาญ้อ มีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ มีวิถีวัฒนธรรมตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ตามแบบชาวอีสาน
-
ชุมชนชาติพันธุ์ไทดำหรือลาวโซ่ง มีความเชื่อในผีแถนซึ่งเป็นรากฐานของประเพณีและวัฒนธรรมหลายอย่าง มีการทำหัตถกรรมชุมชนที่โดดเด่นและแตกต่าง เรียกว่า การทอผ้ากี่กระตุก
-
บ้านแม่ยางส้าน ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยงสะกอ) กับการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และภูมิปัญญาวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์
-
ชาวปกาเกอะญอ บ้านแม่อุมพาย มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกับการทำไร่หมุนเวียน โดยชาวบ้านจะทำไร่ร่วมกันในที่ดินผืนใหญ่ผืนเดียวหมุนเวียนในระยะ 7 ปี โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการทำไร่หมุนเวียนอย่างเป็นระบบ ทำให้ดิน น้ำ ป่าไม้ มีความอุดมสมบูรณ์ และสามารถทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน
-
ชุมชนชาวโย้ยที่อากาศอำนวยได้มีการจัด "วันไทโย้ย" ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ เป็นประจำทุกปี วันไทโย้ยจึงถือเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองชาติพันธุ์และเผยแพร่อัตลักษณ์ของชาวไทโย้ยต่อสาธารณชน ซึ่งนับว่าเป็นเทศกาลสำคัญที่ชาวไทโย้ยที่มีความโดดเด่นและปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน
-
ชุมชนรามัญกลุ่มสุดท้ายแห่งเมืองหริภุญไชยผู้เชื่อว่าตนสืบเชื้อสายมาจากชาวมอญตั้งแต่สมัยหริภุญไชยพร้อมกับการกำเนิดของพระนางจามเทวีดังหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏที่วัดเกาะกลางและตำนานโยนกนคร
-
การตีเหล็ก อาชีพหลักที่เคยสำคัญ แม้ปัจจุบันการถลุงแบบโบราณได้สูญหายไปแล้ว แต่ผู้คนบางส่วนก็ยังคงมีความผูกพันอย่างเช่นอดีต
-
ชุมชนพหุวัฒนธรรมชาติพันธุ์ที่หลากหลายกับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนา
-
ผืนป่าชุมชนมีสภาพเป็นป่าดิบชื้นอุดมสมบูรณ์ ป่าต้นน้ำเป็นพื้นที่อนุรักษ์ใช้ประโยชน์ดูดซับน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคและเกษตร ชุมชนนิยมปลูกข้าวพันธุ์ บือพะโด๊ะ บือโพ ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น กะหล่ำปลี ซูคีนี่ ถั่วลิสง ถั่วพูและพืชพื้นถิ่นอื่น ๆ ตามปลายไร่นา
-
ประติมากรรมงานปั้นพระพุทธชนะมาร ปางมารวิชัยทรงเครื่ององค์ใหญ่ ภายในวัดม่วงสระน้อย สลักโดยฝีมือช่างพื้นบ้าน ตั้งตระหง่านเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้คนบริเวณริมลำน้ำคลองพระเพลิง
-