-
บ้านคำชะอี เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์การอพยพเข้ามาอยู่อาศัยของชาวผู้ไทดำเป็นเวลากว่า 100 ปี ชาวบ้านในชุมชนยังคงสืบทอดรักษาคติความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณีที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษ มีการผสมผสานระหว่างหลักธรรมในศาสนาพุทธกับความเชื่อเรื่องผีดั้งเดิม อันถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวผู้ไท
-
บ้านตะโหนด มีรูปแบบวิธีการทำนาแบบพิเศษที่มีความแตกต่างจากการทำนาทั่วไป เรียกว่า "นาพรุ" ซึ่งต้องเลือกสรรพันธุ์ข้าวที่ใช้สำหรับนาพรุเป็นการเฉพาะ
-
บ้านป่าแป๋ จังหวัดแม่ฮ่องสอน แผ่นดินแห่งความสุขที่เต็มไปด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายคู่ธรรมชาติ เป็นจุดเด่นที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างอยากเดินทางมาสัมผัสเพื่อเรียนรู้และท่องเที่ยวในแบบวิถีชุมชนโฮมสเตย์ มนตร์เสน่ห์แห่งธรรมชาติ
-
ชาวผู้ไทบ้านหนองห้างได้นำเอา "ไผ่" ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากในชุมชนมาสร้างสรรค์เป็น "เครื่องจักสานไม้ไผ่ลายขิด" ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ที่มีชื่อเสียง และสร้างรายได้ให้กับชาวผู้ไทบ้านหนองห้าง
-
วัฒนธรรมที่ผสานความเชื่อที่หลากหลายเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านหนองเต่า
-
ชุมชนท่องเที่ยวน้องใหม่ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางป่าเขาในอำเภอปากช่อง ที่มีการจัดการการท่องเที่ยวโดยให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนด้วยรูปแบบ “Local Low Carbon” ชุมชนต้นแบบในการนำเครื่องมือวัดผลกระทบจาก Carbon Footprint มาใช้ครั้งแรกกับกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชน
-
ชุมชนบ้านน้ำทรัพย์ จากพื้นที่ประสบปัญหาความล้มเหลวด้านการประกอบอาชีพ สู่การพลิกฟื้นระบบเศรษฐกิจชุมชน กับวิถีเศรษฐกิจพอเพียงและการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
-
"แคน พิณ โหวด หลากหลาย ผ้าไหมสวยงาม วัฒนธรรมล้ำค่า ภาษาเฉพาะ ไพเราะเสียงดนตรี” แหล่งผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ สมกับขนานนาม "หมู่บ้านแห่งเสียงดนตรี"
-
สืบเนื่องจากบ้านโคกโก่งตั้งอยู่ในอาณาบริเวณที่มีภูมิทัศน์ทางธรรมชาติเอื้ออำนวยต่อการจัดการท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่งดงาม นำไปสู่การผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม นำเอาการท่องเที่ยวรูปแบบโฮมสเตย์เข้ามาในชุมชน ก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมสายใยชุมชน หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทโคกโก่งโฮมสเตย์ขึ้น เพื่อถ่ายทอดวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมผู้ไทให้เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมหมู่บ้าน
-
ชุมชนผู้ไทบ้านจุมจังมีธรรมาสน์เสาเดียว ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดจุมจังเหนือฝังเสาธรรมาสน์ทะลุพื้นศาลาลงดินตามคติความเชื่อของชาวผู้ไท ซึ่งมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นศาสนวัตถุเชิงสัญลักษณ์ต่อการประกอบพิธีกรรมตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวผู้ไท
-
สัมผัสธรรมชาติของป่าชุมชน ปั่นจักรยานชมทัศนียภาพรอบอ่างเก็บน้ำหุบเขาวง ชมพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดพุน้ำร้อนแหล่งรวมมรดกทางวัฒนธรรมอายุกว่า 4,000 ปี ต้นแบบของหมู่บ้านที่ใช้หลักศูนย์รวมใจมาเป็นพลังในการทำงาน ฟื้นป่า ฟื้นคน นำชุมชนสู่ความพออยู่พอกินด้วยศรัทธาและหลัก “บวร”
-
ชุมชนชาวผู้ไทที่มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดดเด่นในเรื่องการทอผ้าไหมแพรวา โดยเริ่มตั้งแต่ปลูกหม่อนที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต จนกลายเป็นผ้าแพรวาที่มีความงดงาม จึงได้ชื่อว่าเป็น “ต้นน้ำแพรวา ราชินีแห่งไหม”