-
ชุมชนตลาดเมืองราชบุรี เป็นชุมชนที่มีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ครั้งอดีต ภายในชุมชนมีสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นสะพานรถไฟที่ได้รับพระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสะพานรถไฟที่ถูกใช้งานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
-
เป็นชุมชนไทดำหรือชาวลาวโซ่ง ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองปรงตั้งแต่สมัย ร.3 นิยมปลูกบ้านเรือนด้วยไม้ ยกใต้ถุนบ้านสูงไว้เลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ และทำงานหัตถกรรมเพื่อเป็นรายได้เสริม โดยมีสถานที่สำคัญ คือ “บ้านไททรงดำ”
-
บ้านท่ามะขาม ชุมชนชาวไทยเชื้อสายชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีอัตลักษณ์วิถีชาติพันธุ์มาอย่างยาวนาน พื้นที่บริเวณหมู่บ้านมีลำภาชีไหลผ่าน มีภูเขา ป่าชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ เป็นพื้นที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรม วิถีธรรมชาติ และชุมชนได้พัฒนาตนเองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอสวนผึ้ง เกิดเป็นตลาดริมธารยามเช้าทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ชื่อว่า "ตลาดโอ๊ะป่อย" สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
-
ย่านชุมชนบ้านโป่ง มีการใช้พื้นที่เมืองในการสร้างพื้นที่ศิลปะสาธารณะในย่านชุมชน ก่อให้เกิดสุนทรียทางศิลปะ และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนย่านบ้านโป่ง
-
-
บ้านหนองแฟบ ชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานกว่าร้อยปี ภายในชุมชนมีแหล่งโบราณสถานขุดพบพบโครงกระดูกมนุษย์และภาชนะดินเผา เครื่องมือโลหะ เครื่องประดับ ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน เครื่องประดับสำริดที่กำหนดอายุตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะปลูกกล้วยหอมส่งออกสู่ตลาดญี่ปุ่นผ่านการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรบ้านลาดและสหกรณ์การเกษตรท่ายาง แหล่งส่งออกกล้วยหอมทองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
-
ชาวบ้านดอนทรายได้มีความพยายามที่จะพัฒนาฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนที่หยุดชะงักเพราะความล้มเหลวจากการเลี้ยงกบ สู่การพลิกวิกฤตเป็นโอกาส คืนชีวีบ่อเลี้ยงกบเป็นบ่อเลี้ยงปลาสวยงามจนประสบความสำเร็จเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประจำตำบลดอนทราย นอกจากนี้บ้านดอนทรายยังเป็นหนึ่งในแหล่งน้ำนมดิบส่งขายแก่สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี ที่มีการแปรรูปน้ำนมดิบเป็นสินค้าเลื่องชื่อภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ “หนองโพ”
-
-
ชุมชนดั้งเดิมที่ปรากฏหลักฐานการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการค้า ภายในชุมชนมีการอาศัยอยู่ร่วมกันระหว่างชาวไทยและชาวจีน มีวัดสีตลารามเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชน และมีสถาปัตยกรรมประเภทเรือนไม้ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นกระจายตัวอยู่ในชุมชน
-
บ้านเปิ่งเคลิ่ง ชุมชนพหุวัฒนธรรมกับความหลากหลายของวัฒนธรรม วิถีชีวิต และการปรับตัวอยู่ร่วมกันของชาวบ้าน ทรัพยากรในท้องถิ่น และการปลูกไม้ผลที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
-
ชุมชนชาวปกาเกอะญอในตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ 1 ใน 11 หมู่บ้าน แหล่งปลูกทุเรียนป่าละอู พืชเศรษฐกิจ GI สายพันธุ์พระราชทาน