-
พระธาตุภูขวางคู่เขต วิทยาลัยเกษตรคู่บ้าน ร่วมสืบสานภูมิปัญญา แหล่งสินค้าเกษตรกรรม รวมวัฒนธรรมหลากหลาย อ่างน้ำฝายชุ่มเย็น สวยสูงเด่นจุดชมวิว
-
น้ำตกแม่เหยี่ยนชุบชีวี ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ เลิศล้ำหัตถกรรมจักสาน ถิ่นฐานคูเมืองเก่าลือชื่อ ข้าวซ้อมมือดีมีในตำบล ป่าชุมชนระบือนามทั่ว บึงงามนามหนองบัว อุตสาหกรรมครอบครัวหน่อไม้ปี๊บ
-
-
วัดธรรมิการามวรวิหาร วัดสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการก่อสร้างในระยะแรก และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่นางเธอพระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค ซึ่งอยู่ระหว่างการเสด็จพักตากอากาศ เสด็จวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ และพระราชทานสิ่งของแก่วัดจำนวนหนึ่ง
-
หมู่บ้านชนเผ่าอาข่าที่ยังคงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อดั้งเดิมอยู่บนภูเขาสูง ใกล้แหล่งปลูกชา และกาแฟวาวี
-
ชุมชนปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง บ้านแม่สาน จากคำบอกเล่านายรังแก้ว ค้างคีรี ว่าก่อนปี 2516 มีโจรปล้น ฆ่า ชาวบ้านแม่สาน จึงพากันหอบลูกจูงหลานอพยพหนีภัยไปอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กระทั้งนายอำเภอลี้ได้สอบถามเรื่องราวและประสานกับนายอำเภอศรีสัชนาลัยสมัยนั้นเพื่อนำชาวบ้านกลับมายังบ้านแม่สาน ราษฎรกะเหรี่ยงที่บ้านแม่สานนั้น นามสกุลเหมือนกันทั้งหมู่บ้าน คือ นามสกุล “ ค้างคีรี ” สอบถามแล้วได้ความว่านายอำเภอผู้หนึ่งตั้งให้ทุกคนในคราวเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ชุมชนกะเหรี่ยง- สินค้าชุมชน Organic Riceberry ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หอม นุ่ม ปลูกเองธรรมชาติปลอดสารพิษ 100%- กล้วยตาก กล้วยเบรกแตก "เก่อญอ"- เครื่องจักรสานผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระติ๊บข้าวเหนียว กระด้ง ชะลอม เป็นต้น- ผ้าทอกี่เอวของชาติพันธ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่สาน หมู่ที่ 6 ต.แม่สำ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งมีลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น กว่า 30 ลาย ผ้าทอกะเหรี่ยงมีลักษณะเป็นลวดลายที่ได้จากการย้อมจากสีธรรมชาติซึ่งชาวกะเหรี่ยงได้มีกลวิธีและการสร้างลวดลายผ้าทอที่ผู้ทอจะยึดให้เป็นรูปแบบลวดลายดั้งเดิมที่เคยทอไว้ในอดีตลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมได้ถูกถ่ายทอด มาจากรุ่นบรรพบุรุษ จากการสนทนากลุ่มปราชญ์ชาวบ้านด้านผ้าทอกะเหรี่ยง-สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ การแสดงพื้นบ้าน เช่น การฟ้อนเจิง (รำดาบ) , รำกระด้ง, กาซอ ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ความเชื่อ ของชาวปกาเกอะญอ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนกะเหรี่ยงในชุมชน ได้แก่ พิธีการเกิด พิธีงานศพ พิธีแต่งงาน ประเพณีซอเจดีย์ทราย ประเพณีหลังเกี่ยวข้าวและพิธีเกี่ยวกับผี การแต่งกาย การแต่งกายของปกาเกอะญอบ้านแม่สาน เสื้อเด็กและหญิงสาวจะเป็นชุดทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปักประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อสีดำ น้ำเงิน และผ้านุ่งสีแดงคนละท่อน ตกแต่งด้วยลูกเดือย หรือทอยกดอก ยกลาย สำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง การแต่งกายของปกาเกอะญอบ้านแม่สาน แบ่งออกไปตามเพศ อายุและสถานะทางสังคมได้แก่ เพศชาย เพศหญิง วัยเด็ก วัยรุ่น-วัยชรา และหญิงที่มีสถานะแต่งงานแล้ว
-
ชุมชนชานกำแพงเมือง "ป้อมมหากาฬ" เป็นกลุ่มที่อยู่ต่อเนื่องกันมายาวนานมากกว่า 50 ปี โดยเข้ามาผสมผสานกับผู้คนที่อยู่มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ปลูกเรือนเก่าที่ยังหลงเหลืออยู่ในขณะนี้ มีวัดเทพธิดาราม และวัดราชนัดดาราม เป็นศูนย์กลางในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ รวมทั้งมีศาลเจ้าซึ่งสถิตอยู่ที่ป้อมมหากาฬเป็นที่กราบไหว้บูชาของคนในชุมชน
-
ชุมชนบวรรังษี ปัจจุบันขึ้นชื่อว่าเป็นย่านผลิตทองคำเปลว แต่ในอดีตถือเป็นชุมชนที่อุดมด้วยช่างตีทองสุดยอดฝีมือ
-
พระปรางค์เชียงแสนที่ล้ำค่า ประเพณีแห่ช้างผ้าวันสงกรานต์ งามพระวิหารเลิศล้ำ อ่างเก็บน้ำแม่ขามน่าเที่ยว ชุมชนยึดเหนี่ยวคุณธรรม สนองตามพระประณิธานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
-
-
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวนมีทุนทางวัฒนธรรมเป็นอัตลักษณ์อันโดดเด่นทางด้านการสร้างบ้าน การแต่งกาย ความเชื่อและประเพณีมากมาย