-
ชุมชนไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาว มีจุดเด่นในด้านการทำนากก และการทำเสื่อกก หรือสาดไตหย่า ซึ่งถือเป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวไตหย่านับตั้งแต่ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย
-
ชุมชนบ้านปากยามมีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรและสัตว์น้ำ ชาวบ้านจึงมีความเชี่ยวชาญในการจับปลาและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ
-
ภูมิปัญญาการทำเหมืองฝาย ระบบชลประทานพื้นบ้าน การใช้ทรัพยากรน้ำที่มีในชุมชนอย่างคุ้มค่า รวมถึงนับถือถือครูบามหาป่าเจ้าเกสรปัญโญ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
-
ชุมชนดั้งเดิมของชาวลัวะ ที่มีประวัติศาสตร์เรื่องเล่าชุมชนที่น่าสนใจ ภายหลังจึงมีผู้คนชาวปกาเกอะญอเข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณชุมชนจนถึงปัจจุบัน
-
ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านริมทะเลอ่าวไทยของชลบุรีที่มีผู้คนตั้งรกรากมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันถูกพัฒนาให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
-
ลักษณะพื้นที่เป็นรูปวงกลมล้อมรอบหมู่บ้าน มีป่าทึบล้อมรอบด้วยพรรณไม้นานาชนิด และแหล่งน้ำธรรมชาติสำหรับใช้ในภาคการเกษตร
-
เป็นชุมชนที่มีหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งไทย จีน มอญ ลาว แขก ละว้า ขมุ รวมถึงกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลัก สามารถชมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีเทศกาลท่องเที่ยวไม้เมืองหนาว
-
ชุมชนที่มีชาติพันธุ์ลาวเวียงจันทน์ ที่ถูกกวาดต้อนมาในปี พ.ศ. 2388 กระทั่งได้มาสร้างชุมชนอาศัยอยู่ชื่อบ้านเกาะจันทน์ หรือ ดอนเวียงจันทน์ ในปัจจุบัน
-
น้ำตกขุนต๊ำ จำปาทองลือชื่อ ศักดิ์สิทธิ์คือพระธาตุโป่งขาม ลือนามแดนข้าวโพดหวาน เล่าขานถิ่นสาวงาม โดดเด่นวัฒนธรรมล้านนา ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา ภูมิปัญญาท้องถิ่น