ชุมชนแนะนำ
ดูทั้งหมด >>บ้านรักไทย
แม่ฮ่องสอนหมู่บ้านไทยสไตล์จีนยูนนาน ดินแดนในฝันของเหล่านักเดินทาง จากความพยายามหลายสิบปีในการนำเอาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวจีนยูนนาน หรือจีนฮ่อมานำเสนอ ถ่ายทอดผ่านการปรับเปลี่ยนหมู่บ้านรกร้างในอดีตให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เกาะล้าน
ชลบุรีชุมชนเกาะล้านโดดเด่นในเรื่องการท่องเที่ยวโดยเฉพาะหาดทรายที่มีความสวยงาม มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และคงความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมไว้ได้มากหลายแห่ง จึงมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวโดยการสร้างแหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร และร้านขายของที่ระลึกไว้คอยบริการ
อัมพวา
สมุทรสงครามชุมชนอัมพวามีสภาพแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมีคลองธรรมชาติที่ตัดเชื่อมกับแม่น้ำแม่กลองทั้งสองด้าน ริมฝั่งคลองมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
เกาะเกร็ด
นนทบุรีชุมชนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีพื้นที่ประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเป็นชุมชนมอญเก่าแก่ทำให้มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมรูปแบบชาวมอญภายในชุมชน ชุมชนแห่งนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงและโด่ดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า "เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด" นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีศาสนถานที่สำคัญของชาวมอญอย่าง "วัดปรมัยยิกาวาส" ซึ่งภายในวัดแห่งนี้จะมีเจดีย์เอียงอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของพื้นที่เกาะเกร็ด
เกาะปันหยี
พังงาบ้านกลางน้ำ ที่ตั้งเรียงรายอยู่กลางอ่าวพังงา ด้านหน้าของผาหินปูน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมเยือน
ตลาดน้อย
กรุงเทพมหานครความโดดเด่นด้านงานฝีมือและงานช่าง แสดงถึงองค์ความรู้วัฒนธรรมชาวจีนที่ได้ส่งต่อมายังรุ่นต่อรุ่น เช่น การหล่อพระ การทำรองเท้า การทำหมอน การทำขนมโบราณ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นไปตามเทศกาล เช่น การแสดงงิ้ว การทำอาหารเจ ฯลฯ
ถ้ำรงค์
เพชรบุรีชุมชนถ้ำรงค์ หนึ่งพื้นที่ซึ่งผูกพันกับต้นตาลโตนดอย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่รุ่นตารุ่นยายที่เป็นชาวสวนตาล
สืบทอดภูมิปัญญาการเรียนรู้แก่ลูกหลาน สู่การก่อตั้งวิสาหกิจแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชีวิตชาวสวนตาลถ้ำรงค์
เพื่อนำเสนอและเชิดชูภูมิปัญญาจากบรรพชนผ่านกิจกรรมที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในชุมชน
หลวงพรต-ท่านเลี่ยม
กรุงเทพมหานครชุมชนเก่าริมคลองอายุกว่า 100 ปี ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมชาวมอญและจีน ภายในชุมชนยังมีแหล่งเรียนรู้ และสถานที่เก่าแก่ที่คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์เอาไว้อีกด้วย
บ้านหนองเขียว
เชียงใหม่ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ทั้งลาหู่ดำและลาหู่แดง ล้วนนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งหมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว
ข้อมูลชุมชนล่าสุด
ดูทั้งหมด >>ประเภทชุมชน
ดูทั้งหมด >>ชุมชนบางจะเกร็งเป็นชุมชนเกษตรกรรมบริเวณรอยต่อระหว่างตำบลบางจะเกร็งและตำบลแม่กลอง โดยมีลำคลองบางจะเกร็งเป็นแนวเขตระหว่าง 2 ตำบล
ชุมชนบริเวณแหลมใหญ่เป็นชุมชนที่มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ทั้งไทย จีน และมอญ ที่มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนมานับ 100 ปี
ตลาดน้ำท่าคาที่ยังคงรักษาไว้ได้อย่างดี คือ การกําหนดเวลาของการมีตลาดน้ำที่เรียกว่า “นัด” หรือการกำหนดวันค้าขายจากน้ำขึ้นน้ำลง โดยในหนึ่งเดือนจะมีนัดอยู่ 6 ครั้ง ได้แก่ วัขึ้น 2 ค่ำ ขึ้น 7 ค่ำ ขึ้น 12 ค่ำ แรม 2 ค่ำ แรม 7 ค่ำ และแรม 12 ค่ำ
ชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 800 ปี ที่มีกายภาพโดดเด่นอย่างการมีป่าชายเลนและลำคลองหลายสายรอบชุมชน อันส่งผลให้มีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์หลายประการ โดยเฉพาะวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ เช่น การทำถ่านไม้โกงกาง การจับสัตว์น้ำ ทั้งนี้ภายในชุมชนยี่สารยังมีสิ่งก่อสร้างและสถานที่ต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น วัดเขายี่สาร ที่มีร่องรอยของศิลปะมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยา ศาลพ่อปู่ศรีราชามีความที่ศักดิ์สิทธิ์ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขายี่สารที่เก็บรวบรวมสิ่งของโบราณของชุมชน
ชุมชนย่านตลาดการค้าบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่สถานีรถไฟแม่กลองต่อเนื่องถึงตลาดร่มหุบ วัดเพชรสมุทร ถนนเพชรสมุทรและถนนเกษมสุข ลักษณะส่วนใหญ่เป็นตึกแถว ในอดีตเรียกว่า “แขวงบางช้าง” ต่อมาสมัยกรุงธนบุรีได้แยกออกจากจังหวัดราชบุรีเรียกว่า "เมืองแม่กลอง"" และเปลี่ยนชื่อเป็นสมุทรสงคราม ปัจจุบันพัฒนาเป็นย่านพาณิชยกรรมและเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางราชการ ศาสนาและแหล่งการค้าที่สำคัญของจังหวัด
เป็นชุมชนประมงริมแม่น้ำตรงปากน้ำแม่น้ำแม่กลองก่อนไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทย มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มและป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งอาหารทะเลที่สำคัญ โดยมีการทำการประมงน้ำกร่อยและประมงชายฝั่งทะเล มีบ้านเรือนและร้านค้าอยู่หนาแน่นในบริเวณตะวันตกของถนนราษฎร์ประสิทธิ์และตะวันออกของถนนแหลมใหญ่ และมีสะพานแม่กลองเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมพื้นที่ระหว่างสองฝั่งของแม่น้ำแม่กลอง
ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของพื้นที่ส่งผลให้ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ประกอบอาชีพทำนาเกลือ และนากุ้ง รวมทั้งยังมีสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพ
ชุมชนแบ่งตามภูมิภาค
ดูทั้งหมด >>ชุมชนบางจะเกร็งเป็นชุมชนเกษตรกรรมบริเวณรอยต่อระหว่างตำบลบางจะเกร็งและตำบลแม่กลอง โดยมีลำคลองบางจะเกร็งเป็นแนวเขตระหว่าง 2 ตำบล
ชุมชนบริเวณแหลมใหญ่เป็นชุมชนที่มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ทั้งไทย จีน และมอญ ที่มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนมานับ 100 ปี
ตลาดน้ำท่าคาที่ยังคงรักษาไว้ได้อย่างดี คือ การกําหนดเวลาของการมีตลาดน้ำที่เรียกว่า “นัด” หรือการกำหนดวันค้าขายจากน้ำขึ้นน้ำลง โดยในหนึ่งเดือนจะมีนัดอยู่ 6 ครั้ง ได้แก่ วัขึ้น 2 ค่ำ ขึ้น 7 ค่ำ ขึ้น 12 ค่ำ แรม 2 ค่ำ แรม 7 ค่ำ และแรม 12 ค่ำ
ชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 800 ปี ที่มีกายภาพโดดเด่นอย่างการมีป่าชายเลนและลำคลองหลายสายรอบชุมชน อันส่งผลให้มีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์หลายประการ โดยเฉพาะวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ เช่น การทำถ่านไม้โกงกาง การจับสัตว์น้ำ ทั้งนี้ภายในชุมชนยี่สารยังมีสิ่งก่อสร้างและสถานที่ต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น วัดเขายี่สาร ที่มีร่องรอยของศิลปะมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยา ศาลพ่อปู่ศรีราชามีความที่ศักดิ์สิทธิ์ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขายี่สารที่เก็บรวบรวมสิ่งของโบราณของชุมชน
ชุมชนย่านตลาดการค้าบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่สถานีรถไฟแม่กลองต่อเนื่องถึงตลาดร่มหุบ วัดเพชรสมุทร ถนนเพชรสมุทรและถนนเกษมสุข ลักษณะส่วนใหญ่เป็นตึกแถว ในอดีตเรียกว่า “แขวงบางช้าง” ต่อมาสมัยกรุงธนบุรีได้แยกออกจากจังหวัดราชบุรีเรียกว่า "เมืองแม่กลอง"" และเปลี่ยนชื่อเป็นสมุทรสงคราม ปัจจุบันพัฒนาเป็นย่านพาณิชยกรรมและเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางราชการ ศาสนาและแหล่งการค้าที่สำคัญของจังหวัด
เป็นชุมชนประมงริมแม่น้ำตรงปากน้ำแม่น้ำแม่กลองก่อนไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทย มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มและป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งอาหารทะเลที่สำคัญ โดยมีการทำการประมงน้ำกร่อยและประมงชายฝั่งทะเล มีบ้านเรือนและร้านค้าอยู่หนาแน่นในบริเวณตะวันตกของถนนราษฎร์ประสิทธิ์และตะวันออกของถนนแหลมใหญ่ และมีสะพานแม่กลองเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมพื้นที่ระหว่างสองฝั่งของแม่น้ำแม่กลอง
ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของพื้นที่ส่งผลให้ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ประกอบอาชีพทำนาเกลือ และนากุ้ง รวมทั้งยังมีสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพ