ชุมชนแนะนำ
ดูทั้งหมด >>บ้านรักไทย
แม่ฮ่องสอนหมู่บ้านไทยสไตล์จีนยูนนาน ดินแดนในฝันของเหล่านักเดินทาง จากความพยายามหลายสิบปีในการนำเอาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวจีนยูนนาน หรือจีนฮ่อมานำเสนอ ถ่ายทอดผ่านการปรับเปลี่ยนหมู่บ้านรกร้างในอดีตให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เกาะล้าน
ชลบุรีชุมชนเกาะล้านโดดเด่นในเรื่องการท่องเที่ยวโดยเฉพาะหาดทรายที่มีความสวยงาม มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และคงความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมไว้ได้มากหลายแห่ง จึงมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวโดยการสร้างแหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร และร้านขายของที่ระลึกไว้คอยบริการ
อัมพวา
สมุทรสงครามชุมชนอัมพวามีสภาพแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมีคลองธรรมชาติที่ตัดเชื่อมกับแม่น้ำแม่กลองทั้งสองด้าน ริมฝั่งคลองมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
เกาะเกร็ด
นนทบุรีชุมชนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีพื้นที่ประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเป็นชุมชนมอญเก่าแก่ทำให้มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมรูปแบบชาวมอญภายในชุมชน ชุมชนแห่งนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงและโด่ดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า "เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด" นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีศาสนถานที่สำคัญของชาวมอญอย่าง "วัดปรมัยยิกาวาส" ซึ่งภายในวัดแห่งนี้จะมีเจดีย์เอียงอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของพื้นที่เกาะเกร็ด
เกาะปันหยี
พังงาบ้านกลางน้ำ ที่ตั้งเรียงรายอยู่กลางอ่าวพังงา ด้านหน้าของผาหินปูน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมเยือน
ตลาดน้อย
กรุงเทพมหานครความโดดเด่นด้านงานฝีมือและงานช่าง แสดงถึงองค์ความรู้วัฒนธรรมชาวจีนที่ได้ส่งต่อมายังรุ่นต่อรุ่น เช่น การหล่อพระ การทำรองเท้า การทำหมอน การทำขนมโบราณ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นไปตามเทศกาล เช่น การแสดงงิ้ว การทำอาหารเจ ฯลฯ
ถ้ำรงค์
เพชรบุรีชุมชนถ้ำรงค์ หนึ่งพื้นที่ซึ่งผูกพันกับต้นตาลโตนดอย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่รุ่นตารุ่นยายที่เป็นชาวสวนตาล
สืบทอดภูมิปัญญาการเรียนรู้แก่ลูกหลาน สู่การก่อตั้งวิสาหกิจแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชีวิตชาวสวนตาลถ้ำรงค์
เพื่อนำเสนอและเชิดชูภูมิปัญญาจากบรรพชนผ่านกิจกรรมที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในชุมชน
หลวงพรต-ท่านเลี่ยม
กรุงเทพมหานครชุมชนเก่าริมคลองอายุกว่า 100 ปี ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมชาวมอญและจีน ภายในชุมชนยังมีแหล่งเรียนรู้ และสถานที่เก่าแก่ที่คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์เอาไว้อีกด้วย
บ้านหนองเขียว
เชียงใหม่ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ทั้งลาหู่ดำและลาหู่แดง ล้วนนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งหมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว
ข้อมูลชุมชนล่าสุด
ดูทั้งหมด >>ประเภทชุมชน
ดูทั้งหมด >>เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมห้วยแม่เหว่ย และมีประเพณีสำคัญ อาทิเช่น ประเพณีมัดมือลาขุ ประเพณีสงเคราะห์บ้าน ประเพณีขึ้นเจดีย์ประเพณีลอยกระทง ที่มีการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่ในอดีต
"พระธาตุคู่ดูสง่า น้ำตกแม่สุกงามตา สำเนียงภาษาบอกถิ่น หมู่บ้านแม่คู่แผ่นดิน ลิ้นจี่ดีมีมากมาย หลากหลายผลิตภัณฑ์"
ชุมชนที่พึ่งพิงธรรมชาติ ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้นานมากกว่า 250 ปี สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของบ้านเก๊าเดื่อเป็นชนเผ่า “ลัวะ”
เป็นชุมชนการค้าย่านตลาดน้ำริม "คลองบางน้อย" บริเวณปากคลองบางน้อย หรือบางน้อยนอกต่อเนื่องกับหน้าวัดเกาะแก้ว ซึ่งเป็นชุมชนริมแม่น้ำเก่าแก่ที่มีบ้านเรือนห้องแถวไม้ริมน้ำ และมีพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลเป็นพื้นที่ร่องสวนมะพร้าว พื้นที่นาและพื้นที่เพาะปลูกผลไม้อื่น ๆ ปัจจุบันชาวบ้านมีการรวมกลุ่มปลูกมะพร้าวและกลุ่มผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
บ้านทองหลาง ชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างชาวอีสานและชาวใต้ อันเป็นผลมาจากประชากรที่อพยพเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านนั้นนอกจากจะเป็นชาวใต้ซึ่งเป็นคนพื้นถิ่นเดิมแล้ว ยังมีประชากรบางส่วนที่อพยพมาจากภาคอีสานด้วย
ชุมชนแบ่งตามภูมิภาค
ดูทั้งหมด >>เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมห้วยแม่เหว่ย และมีประเพณีสำคัญ อาทิเช่น ประเพณีมัดมือลาขุ ประเพณีสงเคราะห์บ้าน ประเพณีขึ้นเจดีย์ประเพณีลอยกระทง ที่มีการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่ในอดีต
"พระธาตุคู่ดูสง่า น้ำตกแม่สุกงามตา สำเนียงภาษาบอกถิ่น หมู่บ้านแม่คู่แผ่นดิน ลิ้นจี่ดีมีมากมาย หลากหลายผลิตภัณฑ์"
ชุมชนที่พึ่งพิงธรรมชาติ ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้นานมากกว่า 250 ปี สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของบ้านเก๊าเดื่อเป็นชนเผ่า “ลัวะ”
เป็นชุมชนการค้าย่านตลาดน้ำริม "คลองบางน้อย" บริเวณปากคลองบางน้อย หรือบางน้อยนอกต่อเนื่องกับหน้าวัดเกาะแก้ว ซึ่งเป็นชุมชนริมแม่น้ำเก่าแก่ที่มีบ้านเรือนห้องแถวไม้ริมน้ำ และมีพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลเป็นพื้นที่ร่องสวนมะพร้าว พื้นที่นาและพื้นที่เพาะปลูกผลไม้อื่น ๆ ปัจจุบันชาวบ้านมีการรวมกลุ่มปลูกมะพร้าวและกลุ่มผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
บ้านทองหลาง ชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างชาวอีสานและชาวใต้ อันเป็นผลมาจากประชากรที่อพยพเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านนั้นนอกจากจะเป็นชาวใต้ซึ่งเป็นคนพื้นถิ่นเดิมแล้ว ยังมีประชากรบางส่วนที่อพยพมาจากภาคอีสานด้วย